ระบำทวารดี
ระบำทวารวดี
เป็นระบำชุดที่ ๑ ในระบำโบราณคดีที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดของนายธนิต อยู่โพธิ์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) ซึ่งต้องการศึกษา และเรียนรู้เรื่องเครื่องแต่งกายของมนุษย์ เพื่อประโยชน์แก่วิชาประวัติศาสตร์ และโบราณคดี โดยทูลขอร้องให้หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งสถาปนิกพิเศษของกรมศิลปากร ทรงศึกษาแบบอย่าง
และทรงเขียนเลียนแบบเครื่องแต่งกายสมัยลพบุรี กับขอให้ นายพรศักดิ์ ผลปราญช์ ศึกษา และเขียนเลียนแบบเครื่องแต่งกายสมัยทวารวดีบางรูป โดยในครั้งแรกคิด จะจัดสร้างเครื่องแต่งกายตามสมัยโบราณคดี ถวายทอดพระเนตรในงานเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการแสดงศิลปะโบราณวัตถุในอาคารสร้างใหม่ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แต่หลังจากได้ภาพตามที่ต้องการแล้ว จึงเปลี่ยนความคิดใหม่เป็นการจัดแสดงระบำโบราณคดีชุดต่าง ๆ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ทอดพระเนตรแทนการจัดแสดงเครื่องแต่งกาย
และทรงเขียนเลียนแบบเครื่องแต่งกายสมัยลพบุรี กับขอให้ นายพรศักดิ์ ผลปราญช์ ศึกษา และเขียนเลียนแบบเครื่องแต่งกายสมัยทวารวดีบางรูป โดยในครั้งแรกคิด จะจัดสร้างเครื่องแต่งกายตามสมัยโบราณคดี ถวายทอดพระเนตรในงานเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการแสดงศิลปะโบราณวัตถุในอาคารสร้างใหม่ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แต่หลังจากได้ภาพตามที่ต้องการแล้ว จึงเปลี่ยนความคิดใหม่เป็นการจัดแสดงระบำโบราณคดีชุดต่าง ๆ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ทอดพระเนตรแทนการจัดแสดงเครื่องแต่งกาย
ระบำโบราณคดีชุดทวารวดีนี้ในครั้งแรกนำออกแสดงให้ประชาชนชมเป็นครั้งแรก ณ สังคีตศาลา ในงานดนตรีมหกรรมประจำปี เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ ภายหลังจึงได้นำมาปรับปรุงใหม่
เป็นโบราณคดีรวม ๕ สมัย จัดแสดงสำหรับถวายทอดพระเนตร เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๐
เป็นโบราณคดีรวม ๕ สมัย จัดแสดงสำหรับถวายทอดพระเนตร เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๐
ระบำทวารวดีเป็นระบำสมัยทวารวดี อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๖ ประดิษฐ์ขึ้นจาก ลักษณะท่วงท่า อากัปกิริยาของมนุษย์ และเทวรูป รวมทั้งอาภรณ์ และเครื่องประดับที่ปรากฏอยู่บนภาพปั้น และภาพแกะสลัก ที่ค้นพบในประเทศไทย ณ โบราณสถาน ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และที่ตำบลโคกไม้เดน และจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ นักโบราณคดีเชื่อว่าชนชาติที่อาศัยอยู่ ในสมัยทวารวดีนี้เป็นมอญหรือเผ่าชนที่พูดภาษามอญ ทำให้ดนตรี และกระบวนท่ารำ ตลอดจนเครื่องแต่งกาย มีลักษณะเป็นแบบมอญ
นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(ดนตรีไทย) ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ เป็นผู้แต่งทำนองเพลง โดยมีสำเนียงออกไปทางเพลงมอญ นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร และนางเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) ปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ นายสนิท ดิษฐพันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย นางชนานันท์ ช่างเรียน สร้างเครื่องแต่งกาย นายชิต แก้วดวงใหญ่ สร้างศิราภรณ์ และเครื่องประดับ
รูปแบบ และลักษณะการแสดง
ระบำทวารวดี เป็นการรำหมู่ประกอบด้วยผู้แสดง ๖ คน ท่ารำประดิษฐ์ขึ้นโดยเลียนแบบจากภาพปั้นและภาพแกะสลัก เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว ความสวยงามของการรำอยู่ที่กระบวนท่าที่มีลักษณะเฉพาะตามยุคสมัยที่มีความสวยงามในลักษณะเฉพาะของการใช้มือ เท้า และศีรษะ รวมทั้งการแปรแถวในการรำด้วย ลักษณะต่าง ๆ
ระบำทวารวดี เป็นการรำหมู่ประกอบด้วยผู้แสดง ๖ คน ท่ารำประดิษฐ์ขึ้นโดยเลียนแบบจากภาพปั้นและภาพแกะสลัก เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว ความสวยงามของการรำอยู่ที่กระบวนท่าที่มีลักษณะเฉพาะตามยุคสมัยที่มีความสวยงามในลักษณะเฉพาะของการใช้มือ เท้า และศีรษะ รวมทั้งการแปรแถวในการรำด้วย ลักษณะต่าง ๆ
การรำแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ รำออกมาตามทำนองเพลง
ขั้นตอนที่ ๒ ทำท่ารำตามกระบวนเพลงช้า และเร็ว จนจบกระบวนท่า
ขั้นตอนที่ ๓ ทำท่าจบด้วยการนั่งกลางเวที
ขั้นตอนที่ ๔ รำเข้าเวทีตามทำนองเพลง
ขั้นตอนที่ ๑ รำออกมาตามทำนองเพลง
ขั้นตอนที่ ๒ ทำท่ารำตามกระบวนเพลงช้า และเร็ว จนจบกระบวนท่า
ขั้นตอนที่ ๓ ทำท่าจบด้วยการนั่งกลางเวที
ขั้นตอนที่ ๔ รำเข้าเวทีตามทำนองเพลง
เครื่องแต่งกาย
เครื่องแต่งกายของระบำทวารวดี ประกอบด้วย
๑. เสื้อรัดอกสีเนื้อ
๒. กระโปรงจีบหน้านาง ตกแต่งด้วยผ้าตาดสีทองเป็นลายขวางแถวหนึ่งสีอิฐ อีกแถวหนึ่งสีเหลือง
๓. สไบเฉียง ปล่อยชายด้านหน้า และด้านหลัง
๔. เครื่องประดับ ประกอบด้วย เข็มขัดทำด้วยผ้าตาดสีทอง ต่างหู จี้นาง ต้นแขน กำไลข้อมือ กำไลข้อเท้าติดลูกกระพรวน
๕. ศีรษะ เกล้าผมมวยสูง ใส่เกี้ยว
๖. กระบังหน้า
๑. เสื้อรัดอกสีเนื้อ
๒. กระโปรงจีบหน้านาง ตกแต่งด้วยผ้าตาดสีทองเป็นลายขวางแถวหนึ่งสีอิฐ อีกแถวหนึ่งสีเหลือง
๓. สไบเฉียง ปล่อยชายด้านหน้า และด้านหลัง
๔. เครื่องประดับ ประกอบด้วย เข็มขัดทำด้วยผ้าตาดสีทอง ต่างหู จี้นาง ต้นแขน กำไลข้อมือ กำไลข้อเท้าติดลูกกระพรวน
๕. ศีรษะ เกล้าผมมวยสูง ใส่เกี้ยว
๖. กระบังหน้า
ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
ใช้วงดนตรีที่มีลักษณะเฉพาะ เครื่องดนตรีประกอบด้วย พิณ ๕ สาย จะเข้ ขลุ่ย ระนาดตัด ตะโพนมอญ ฉิ่ง ฉาบ และกรับคู่
เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่เพลงรัวทวารวดี เพลงทวารวดี (เที่ยวช้าและเที่ยวเร็ว)
ใช้วงดนตรีที่มีลักษณะเฉพาะ เครื่องดนตรีประกอบด้วย พิณ ๕ สาย จะเข้ ขลุ่ย ระนาดตัด ตะโพนมอญ ฉิ่ง ฉาบ และกรับคู่
เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่เพลงรัวทวารวดี เพลงทวารวดี (เที่ยวช้าและเที่ยวเร็ว)
อ้างอิง : https://www.facebook.com/danceartsofthekingdomofthailand/posts/499020583485420
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=854156617976935&id=337985982927337&substory_index=0
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B5+%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjZkN_126fXAhXEvo8KHXocAd04ChD8BQgKKAE&biw=1366&bih=613#imgrc=o1Wl8uUi73EN9M:
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B5+%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjZkN_126fXAhXEvo8KHXocAd04ChD8BQgKKAE&biw=1366&bih=613#imgrc=BapbXXh7F7AwPM:
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B5+%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjZkN_126fXAhXEvo8KHXocAd04ChD8BQgKKAE&biw=1366&bih=613#imgrc=r3P9pwKRi-varM:
https://www.youtube.com/watch?v=P8r3yBWtgdo
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น